อารยธรรมกรีกไมเซเนียน

                                                  อารยธรรมกรีกไมเซเนียน (Mycenaean Greeks)
                สารธารแห่งอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองต่อมาในคาบสมุทรอีเจียน (ต่อจากอารยธรรมมิโนนบนเกาะครีต) ซึ่งมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่ ปี 1600 – 1100 ก่อนคริสตศักราช เรียกว่า อารยธรรมไมเซเนียน 
คำว่าไมเซเนียน มาจากคำว่า ไมเซเน (Mycenae) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการขุดค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญ และเชื่อว่าเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของอารยธรรมไมเซเนียนนี้ อารยธรรมแห่งนี้ได้รับการค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันที่เชื่อว่า Heinrich Schliemann (ความจริงนักโบราณคดีกรีกที่ชื่อว่า Pittakis เป็นคนลงมือขุดเป็นคนแรกในปี 1841 ซึ่งพบประตูที่เรียกว่า Lion Gate และทำการบูรณะใหม่ และ Heinrich Schliemann ได้สำรวจค้นต่อมาจนสำเร็จในปี 1874)
                กลุ่มเชื้อชาติที่เป็นเจ้าของอารยธรรมแห่งนี้ คือกลุ่มคนที่เรียกว่า อินโด-ยูโรเปียน (Indo-European) ซึ่งอพยพเข้ามายังทางใต้และทางตะวันตกของยุโรป รวมทั้งอินเดีย และอิหร่าน และกลุ่มหนึ่งได้เข้ามายังกรีกทางตอนเหนือ เมื่อ 1900 ปี ก่อนคริสตศักราช และสร้างอาณาจักรและอารยธรรมครอบคลุมพื้นกรีกแผ่นดินใหญ่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ

 
 

อารยธรรมแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในระหว่างปี 1400 – 1200 ก่อนคริสตศักราช ซึ่งประกอบด้วยเมืองหลักๆ 5 เมือง คือ

  • เมืองไมซีนี (Mycenae)
  • เมืองเทียรินซ์ (Tiryns)
  • เมืองพีลอส (Pylos)
  • เมืองตีบซ์ (Thebes)
  • เมืองออร์โคเมนัส (Orchomenos)

โดยน่าจะมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีนี ทั้งนี้โครงสร้างของการเมืองการปกครองเป็นแบบกษัตริย์ที่ทรงอำนาจ มีที่พำนักอยู่ตามพระราชวังที่ล้อมรอบด้วยกำแพงขนาดใหญ่ สร้างอยู่ตามเนินเขา สันนิษฐานว่าเมืองศูนย์กลางอำนาจเหล่านี้น่าจะรวมตัวกันอย่างหลวมๆ โดยแต่ละเมืองก็มีความเป็นอิสระในการปกครองตนเองด้วย แต่โดยที่เมืองไมซีนีมีความเข้มแข็งมากที่สุด
                สถานะของคนในสังคม ก็ประกอบไปด้วย กษัตริย์ รองลงมาจากกษัตริย์ก็เป็น ผู้บัญชาการรบ หรือแม่ทัพ นอกจากนั้นก็มีพระ และข้าราชการ พลเมืองที่มีเสรีซึ่งประกอบไปด้วยชาวนา ทหาร และศิลปิน ส่วนระดับล่างสุดประกอบด้วย แรงงานติดที่ดิน (Serf) และทาส (Slave) (มีความแตกต่างกันตรงที่ถือว่าทาสเป็นทรัพย์สินของเจ้าของทาส)

ใส่ความเห็น